Connect to DB
  หัวข้อ : "กรรมการสมานฉันท์ฯ กับความหวังดับไฟใต้"
  วัตถุประสงค์ของการสำรวจ :.
 

            เพื่อทราบความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครเปรียบเทียบกับความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ 3
จังหวัดชายแดนภาคใต้เกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหาความรุนแรงในภาคใต้ด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์

  ระเบียบวิธีการสำรวจ :
              การสุ่มตัวอย่าง
                 การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่ 3 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ จำนวน 1,470 คน เป็นชายร้อยละ 50.3 หญิงร้อยละ 49.7 โดยในจำนวนนี้เป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร
จำนวน 1,042 คน และในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 438 คน
               กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 34.5 มีอายุระหว่าง 18 - 25 ปี ร้อยละ 24.1 มีอายุระหว่าง 26 – 35 ปี ร้อยละ 22.0
มีอายุระหว่าง 36 – 45 ปี และร้อยละ 19.4 มีอายุ 46 ปีขึ้นไป
               สำหรับระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 16.2 มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 26.2 มัธยมศึกษา/ปวช.
ร้อยละ 13.3 ปวส./อนุปริญญา ร้อยละ 38.0 ปริญญาตรี และร้อยละ 6.3 สูงกว่าปริญญาตรี
               กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 11.3 มีอาชีพรับราชการ ร้อยละ 2.9 พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 17.9 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 18.0 ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 17.3 พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน ร้อยละ 22.1 นิสิต/นักศึกษา ร้อยละ 5.7 พ่อบ้าน/
แม่บ้าน/เกษียณอายุ และร้อยละ 4.8 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประมง
  ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) : ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
  วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล : .การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
                                        ในเรื่อง "กรรมการสมานฉันท์ฯ กับความหวังดับไฟใต้"
  ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : . 31 มีนาคม - 3 เมษายน 2548
  วันที่เผยแพร่ข้อมูล : . 8 เมษายน 2548
  สำรวจโดย : ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776  http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
  ผลการสำรวจ :
 
             1. เมื่อถามว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ เป็นการแก้ปัญหาภาคใต้ที่เดินมาถูกทางหรือยัง พบว่า
คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 52.2 )เห็นว่าเดินมาถูกทางแล้ว ร้อยละ 34.2 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 13.6
เห็นว่ายังเดินมาไม่ถูกทาง ในขณะที่คนในพื้นที่ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 52.3) ระบุว่าไม่แน่ใจ ร้อยละ 33.4
เห็นว่าถูกทางแล้ว และร้อยละ 14.4 เห็นว่ายังไม่ถูกทาง
               2. สำหรับความเป็นอิสระของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ นั้น พบว่าคนกรุงเทพฯ ร้อยละ 41.3 ไม่แน่ใจว่า
คณะกรรมการชุดดังกล่าวจะสามารถดำเนินงานได้อย่างเป็นอิสระจริง
มีเพียงร้อยละ 34.7 ที่เชื่อว่าเป็นอิสระ
และร้อยละ 24.0 เชื่อว่าไม่เป็นอิสระ
                ส่วนคนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 53.4 ก็ไม่แน่ใจว่าคณะกรรมการชุดดังกล่าว
จะสามารถดำเนินงานได้อย่างเป็นอิสระจริงเช่นกัน
มีเพียงร้อยละ 26.7 ที่เชื่อว่าเป็นอิสระ และร้อยละ 19.9
เชื่อว่าไม่เป็นอิสระ
              3. อย่างไรก็ตาม การแต่งตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ก็ส่งผลในทางบวกต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล
โดยคนกรุงเทพฯ ร้อยละ 64.7 และคนในพื้นที่ร้อยละ 54.8 ระบุว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวส่งผลให้ภาพลักษณ์
ของรัฐบาลดีขึ้น
 
             4. ส่วนความเห็นต่อแนวคิดที่ว่า “ความรุนแรงแก้ไขด้วยความรุนแรงไม่ได้” นั้น คนกรุงเทพฯ
เห็นด้วย ร้อยละ 77.0 และคนในพื้นที่เห็นด้วย ร้อยละ 77.4
 
             5. เมื่อถามว่าการแก้ปัญหาภาคใต้ให้สำเร็จจำเป็นต้องมีการเปิดเผยผลการสอบสวนข้อเท็จจริง
กรณีเหตุการณ์ที่มัสยิดกรือเซะ กรณี สภอ.ตากใบ และกรณีการหายตัวไปของทนายสมชาย นีละไพจิตรหรือไม่
คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 70.3 เห็นว่าจำเป็น
ขณะที่อีกร้อยละ 29.7 เห็นว่าไม่จำเป็น ส่วนคนในพื้นที่ ร้อยละ 80.8
เห็นว่าจำเป็น
ขณะที่อีกร้อยละ 19.2 เห็นว่าไม่จำเป็น
 
             6. สำหรับประเด็นที่ว่ารัฐบาลจะนำข้อเสนอในการแก้ปัญหาภาคใต้ของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ไปปฏิบัติ
จริงหรือไม่นั้น คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 75.1 เชื่อว่ารัฐบาลจะนำข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ
ไปปฏิบัติจริง
ขณะที่ร้อยละ 24.9 เชื่อว่าจะไม่นำไปปฏิบัติ ส่วนคนในพื้นที่ร้อยละ 78.8 เชื่อว่ารัฐบาลจะนำ
ข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ไปปฏิบัติจริง
ขณะที่ร้อยละ 21.2 เชื่อว่ารัฐบาลจะไม่นำไปปฏิบัติ
 
             7. ส่วนระยะเวลาในการดำเนินงานแก้ปัญหา คนกรุงเทพฯ (ร้อยละ 38.0) และคนในพื้นที่ (ร้อยละ 44.5)
คาดหวังจะเห็นการนำข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ไปปฏิบัติให้เกิดผลภายในเวลา 2 ป
ี ในขณะที่
อีกส่วนหนึ่ง (คนกรุงเทพร้อยละ 35.7 และคนในพื้นที่ร้อยละ 25.3) คาดหวังจะเห็นผลภายในเวลา 1 ปี
 
             8. สิ่งที่อยากฝากถึงคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ อันดับแรกคือ ขอให้มีความเป็นกลางอย่าเข้าข้าง
ผู้มีอำนาจ
รองลงมาขอให้รีบแก้ปัญหาโดยเร็วอย่าให้ผู้บริสุทธิ์ต้องเดือดร้อนอีก ขอเป็นกำลังใจให้แก้ปัญหาได้สำเร็จ
ขอให้ฟังเสียง คนในพื้นที่ให้มากๆจะได้เข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้ง ขอให้ใช้ความรอบคอบอย่าด่วนสรุปปัญหา อย่าใช้ความรุนแรง
ในการแก้ปัญหา และขอให้ถอนกำลังตำรวจ-ทหารออกจากพื้นที่ ตามลำดับ
 
 
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
     
 
ตารางที่ 1 : ข้อมูลประชากรศาสตร์
   
   จำนวน ร้อยละ
เพศ :
            ชาย 739 50.3
            หญิง 731 49.7
อายุ :
            18 - 25 ปี
507
34.5
            26 - 35 ปี
354
24.1
            36 - 45 ปี
324
22.0
            46 ปีขึ้นไป
285
19.4
การศึกษา :
            ประถมศึกษา 238 16.2
            มัธยมศึกษา / ปวช. 385 26.2
            ปวส. / อนุปริญญา 196 13.3
            ปริญญาตรี 559 38.0
            สูงกว่าปริญญาตรี 92 6.3
อาชีพ :
            รับราชการ
166
11.3
            รัฐวิสาหกิจ
43
2.9
            รับจ้างทั่วไป
263
17.9
            ค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
265
18.0
            พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน
254
17.3
            นิสิต / นักศึกษา
325
22.1
            พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
84
5.7
            อื่น ๆ
70
4.8
   
   
ตารางที่ 2 : ท่านคิดว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ เป็นการแก้ปัญหาภาคใต้ที่เดินมาถูกทางหรือยัง
   
  คนกรุงเทพฯ คนในพื้นที่
จำนวน ร้อยละ  จำนวน ร้อยละ
ถูกทางแล้ว
544
52.2
146 33.4
ยังไม่ถูกทาง 142 13.6 63 14.4
ไม่แน่ใจ 356 34.2
229
52.3
รวม 1042 100 438 100
     
   
ตารางที่ 3 : ท่านคิดว่าคณะกรรมการชุดดังกล่าวจะสามารถดำเนินงานแก้ปัญหาภาคใต้ได้อย่างเป็นอิสระจริง
                       หรือไม่
   
  คนกรุงเทพฯ คนในพื้นที่
จำนวน ร้อยละ  จำนวน ร้อยละ
เป็นอิสระ
362
34.7
117 26.7
ไม่เป็นอิสระ 250 24.0 87 19.9
ไม่แน่ใจ
430
41.3
234
53.4
รวม 1042 100 438 100
     
   
ตารางที่ 4 : การแต่งตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ท่านมีต่อรัฐบาลหรือไม่อย่างไร
   
  คนกรุงเทพฯ คนในพื้นที่
จำนวน ร้อยละ  จำนวน ร้อยละ
ภาพลักษณ์ดีขึ้น
674
64.7
240
54.8
ภาพลักษณ์แย่ลง 52 5.0 63 14.4
ไม่มีผลต่อภาพลักษณ์
316
30.3
135
30.8
รวม 1042 100 438 100
     
   
ตารางที่ 5 : ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับแนวคิดที่ว่า “ความรุนแรงแก้ไขด้วยความรุนแรงไม่ได้”
   
  คนกรุงเทพฯ คนในพื้นที่
จำนวน ร้อยละ  จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย
802
77.0
339
77.4
ไม่เห็นด้วย 240 23.0 99 22.6
รวม 1042 100 438 100
     
   
ตารางที่ 6 : ท่านคิดว่าการจะแก้ปัญหาภาคใต้ให้สำเร็จ จำเป็นต้องเปิดเผยผลการสอบสวนข้อเท็จจริง กรณี
                       เหตุการณ์ที่มัสยิดกรือเซะ กรณีสภอ.ตากใบ และกรณีการหายตัวไปของทนายสมชายหรือไม่
   
  คนกรุงเทพฯ คนในพื้นที่
จำนวน ร้อยละ  จำนวน ร้อยละ
จำเป็น
733
70.3
354
80.8
ไม่จำเป็น 309 29.7 84 19.2
รวม 1042 100 438 100
     
   
ตารางที่ 7 : ท่านคิดว่ารัฐบาลจะนำข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ไปปฏิบัติจริงหรือไม่
   
  คนกรุงเทพฯ คนในพื้นที่
จำนวน ร้อยละ  จำนวน ร้อยละ
นำไปปฏิบัติ
783
75.1
345
78.8
ไม่นำไปปฏิบัติ 259 24.9 93 21.2
รวม 1042 100 438 100
     
   
ตารางที่ 8 : ท่านคาดหวังจะเห็นผลงานการแก้ปัญหาภายในระยะเวลาเท่าไร
   
  คนกรุงเทพฯ คนในพื้นที่
จำนวน ร้อยละ  จำนวน ร้อยละ
ภายใน 1 ปี
372
35.7
111
25.3
ภายใน 2 ปี
396
38.0
195
44.5
ภายใน 3 ปี
146
14.0
66
15.1
มากกว่า 3 ปี
128
12.3
66
15.1
รวม 1042 100 438 100
     
   
ตารางที่ 9 : สิ่งที่อยากฝากถึงคณะกรรมการชุดดังกล่าว
   
  คนกรุงเทพฯ คนในพื้นที่
จำนวน ร้อยละ  จำนวน ร้อยละ
ขอให้เป็นกลางอย่าเข้าข้างผู้มีอำนาจ
334
32.1
147
33.6
ขอให้รีบแก้ปัญหาโดยเร็วอย่าให้ผู้บริสุทธิ์
ต้องเดือดร้อนอีก
333 32.0 114 26.1
ขอเป็นกำลังใจให้แก้ปัญหาได้สำเร็จ
234
22.5
3
0.7
ฟังเสียงคนในพื้นที่ให้มากๆ จะได้เข้าใจปัญหา
อย่างลึกซึ้ง
46
4.4
69
15.7
ขอให้ใช้ความรอบคอบ อย่าด่วนสรุป
38
3.6
54
12.3
อย่าใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา
56
5.4
21
4.8
ถอนกำลังทหารและตำรวจออกจากพื้นที่ให้หมด
-
-
30
6.8
รวม 1042 100 438 100
     
สามารถทำการ Vote ได้วันละ 1 ครั้ง
Vote :  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
Download document file :   ( %E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%8C%E0%B8%AF%20%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89 )

ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ ( Email: research@bu.ac.th )

โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776